Author: colorpack
โครงสร้างองค์กร
Written by colorpack on . Posted in Uncategorized. No Comments on โครงสร้างองค์กร
แบรนด์ซุปไก่สกัด จับมือ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ขยายเวลาแคมเปญประกวดออกแบบลายเสื้อ โชว์ไอเดียสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ “แบรนด์…พลังเลือดใหม่ ต่อพลังชีวิต 2567” ชิงทุนการศึกษา
Written by colorpack on . Posted in News. No Comments on แบรนด์ซุปไก่สกัด จับมือ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ขยายเวลาแคมเปญประกวดออกแบบลายเสื้อ โชว์ไอเดียสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ “แบรนด์…พลังเลือดใหม่ ต่อพลังชีวิต 2567” ชิงทุนการศึกษา
แบรนด์ซุปไก่สกัด จับมือ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ขยายเวลาแคมเปญประกวดออกแบบลายเสื้อ โชว์ไอเดียสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ “แบรนด์…พลังเลือดใหม่ ต่อพลังชีวิต 2567” ชิงทุนการศึกษา
บริษัท ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำตลาดอาหารเสริมสุขภาพภายใต้ตราผลิตภัณฑ์แบรนด์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย จับมือ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ขยายเวลาแคมเปญประกวดออกแบบลายเสื้อยืดในคอนเซปท์ “Give Blood Gives Lives…พลังเล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่” ภายใต้โครงการ “แบรนด์…พลังเพื่อเลือดใหม่ ต่อพลังชีวิต 2567” (BRAND’S Young Blood 2024) ที่ดำเนินการต่อเนื่องเป็น ปีที่ 24 เชิญชวนนิสิตนักศึกษาทั่วประเทศ เข้าร่วมแคมเปญเพื่อ ชิงทุนการศึกษา เกียรติบัตรและผลิตภัณฑ์แบรนด์ตลอดปี โดยลายเสื้อที่ชนะการประกวดจะถูกนำไปผลิตเป็นเสื้อยืดเพื่อมอบให้กับผู้บริจาคโลหิตให้กับสภากาชาดไทย สามารถส่งผลงานร่วมโครงการตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 31 สิงหาคม 2567
นางมธุวลี สถิตยุทธการ ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “สอดคล้องกับค่านิยม ‘Giving Back to Society’ ของบริษัท เรามุ่งสร้างจิตสำนึกของการเป็นผู้ให้ และรณรงค์ให้เกิดการบริจาคโลหิต เพื่อจัดหาโลหิตสำรองให้เพียงพอกับความต้องการใช้ในแต่ละปีของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โดยที่เราเล็งเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ และพลังความคิดสร้างสรรค์อันยิ่งใหญ่ของเยาวชน นักเรียนและนักศึกษา เราจึงจัดประกวดออกแบบลายเสื้อยืดตามแนวคิด “Give Blood Gives Lives…พลังเล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่” ในหัวข้อการเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต รวมทั้งสาระน่ารู้เกี่ยวกับธาตุเหล็กและการบริจาคโลหิต ภายใต้โครงการ “แบรนด์…พลังเพื่อเลือดใหม่ ต่อพลังชีวิต 2567” (BRAND’S Young Blood 2024) เพื่อรณรงค์ให้เกิดการบริจาคโลหิตในวงกว้าง ตลอดจนชิงทุนการศึกษา เกียรติบัตร และผลิตภัณฑ์แบรนด์ซุปไก่สกัด โดยผลงานที่ชนะเลิศจะถูกนำไปผลิตเป็นเสื้อยืดเพื่อมอบให้กับผู้บริจาคโลหิตต่อไป
รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มีภารกิจหลักในการให้บริการโลหิตที่เพียงพอ มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุดตามมาตรฐานสากล เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยทั่วประเทศโดยประเทศไทย มีผู้บริจาคโลหิต 2.5 – 3 ล้านยูนิตต่อปี จากสถิติปี 2566 มีกลุ่มเยาวชนอายุ 17-20 ปี จำนวน 3,194,117 ราย เป็นเยาวชนที่บริจาคโลหิต จำนวน 170,598 ราย หากมีการรณรงค์ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้เยาวชนได้เห็นถึงความสำคัญของโลหิต รวมทั้งสร้างจิตสำนึกที่ดีในการบริจาคโลหิต จะส่งผลให้เยาวชนบริจาคโลหิตเพิ่มมากขึ้น และเป็นพลังสำคัญในการบริจาคโลหิตอย่างยั่งยืนในอนาคต ดังนั้น ความร่วมมือภายใต้โครงการ “แบรนด์…พลังเพื่อเลือดใหม่ ต่อพลังชีวิต 2567” จึงมีส่วนสำคัญในการสร้างการรับรู้และกระตุ้นให้กลุ่มเยาวชนได้เริ่มต้นการบริจาคโลหิตครั้งแรกเพิ่มขึ้น รวมทั้งสร้างวัฒนธรรมการบริจาคโลหิตเป็นประจำทุก 3 เดือน โดยตั้งเป้าหมายการรับบริจาคโลหิตในโครงการฯ ให้ได้ จำนวน 100,000 ยูนิต ปัจจุบัน มียอดการบริจาคโลหิตแล้ว 49,481 ยูนิต ซึ่งได้รับจากการจัดหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 64 แห่ง ตั้งแต่เดือน มกราคม – พฤษภาคม 2567
สำหรับการจัดโครงการฯ ปีนี้ เพื่อมุ่งส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษา ตลอดจนบุคลากรในมหาวิทยาลัยได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องถึงความสำคัญในเรื่องของการบริจาคโลหิต ร่วมบริจาคโลหิตเพิ่มมากขึ้น และเป็นผู้บริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้มีปริมาณโลหิตที่มีคุณภาพปลอดภัย และมีปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการใช้ของทั้งประเทศ จึงขอเชิญชวนนิสิต นักศึกษา ทั่วประเทศ มาร่วมแสดงพลังของวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ในการทำสิ่งดี ๆ เพื่อตอบแทนสังคม ทั้งในเรื่องของการบริจาคโลหิต และการร่วมออกแบบลายเสื้อยืดกับโครงการฯ
ทั้งนี้ คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวดออกแบบลายเสื้อยืดในโครงการฯ ต้องเป็นนิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษาอย่างถูกต้องและมีอายุไม่เกิน 22 ปี โดยสามารถส่งผลงานออกแบบ 1 คน หรือ 1 ทีม (สมาชิกไม่เกิน 2 คน) ไม่จำกัดจำนวนผลงาน ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดและกรอกใบสมัครเข้าร่วมการประกวดได้ที่ www.blooddonationthai.com (หัวข้อดาวน์โหลด)
โดยสามารถส่งผลงานได้ 3 วิธี ได้แก่
(1) ส่งไฟล์ผลงานมาที่ email : Project.nbc@redcross.or.th ตั้งแต่วันนี้ – 31 สิงหาคม 2567
(2) ส่งผลงานทางไปรษณีย์ ใส่ซองปิดผนึก จ่าหน้าซองถึง งานกิจกรรมสัมพันธ์และโครงการพิเศษ ฝ่ายจัดหาผู้บริจาคโลหิตและสื่อสารองค์กร ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 วงเล็บมุมซองว่า (ประกวดออกแบบลายเสื้อ – BYB 2024) โดยจะยึดตามวันที่ประทับตราบนซองเป็นสำคัญ
(3) กรณีส่งผลงานด้วยตัวเอง ให้ติดต่อฝ่ายจัดหาผู้บริจาคโลหิตและสื่อสารองค์กร อาคารเฉลิมพระเกียรติบรมราชินีนาถ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ (ในวันและเวลาราชการ จันทร์-ศุกร์ 8.00 – 16.30 น.)
โครงการจะประกาศผลผู้ได้รับรางวัลทุกระดับ ในวันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2567 ผ่านทาง www.facebook.com/nbctrc และ www.facebook.com/BRANDSWorldThailand
ผู้ชนะเลิศจะได้รับเกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษา 10,000 บาท, รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 จะได้รับเกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษา 5,000 บาท, รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 จะได้รับเกียรติบัตรพร้อมทุนการศึกษา 3,000 บาท โดยผู้ชนะรางวัลในทุกระดับจะได้รับผลิตภัณฑ์แบรนด์ซุปไก่สกัดดื่มฟรีตลอดปีสำหรับนิสิต นักศึกษา และสถาบันการศึกษาที่สนใจเข้าร่วมโครงการประกวดออกแบบลายเสื้อ สามารถดาวน์โหลดใบสมัคร และสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0 2263 9600 ต่อ 1743 หรือ www.blooddonationthai.com (หัวข้อดาวน์โหลด)
*************************************
ขอขอบพระคุณที่กรุณาเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท โซลิสเตอร์ พีอาร์ จำกัด
พิธิมา (ก้อย) โทร. 099-009-9885 Email : pitima@solisterpr.com LINE ID : zoxy.r
ณัฏฐณิชา (ดีดี้) โทร. 094-161-4659 Email : natanisha@solisterpr.com LINE ID : deedynatanisha
9 -16 เมษายนนี้ กาชาดชวนใส่เสื้อฮาวายลายดอกบริจาคโลหิตเตรียมพร้อมรับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์
Written by colorpack on . Posted in News. No Comments on 9 -16 เมษายนนี้ กาชาดชวนใส่เสื้อฮาวายลายดอกบริจาคโลหิตเตรียมพร้อมรับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ชวนใส่เสื้อฮาวายลายดอก บริจาคโลหิตในโครงการ “แล้งนี้ไม่แล้งน้ำใจ ด้วยการให้โลหิต” เตรียมพร้อมสำรองโลหิตรับมือหยุดยาวช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 9 -16 เมษายน 2567 ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ หน่วยรับบริจาคโลหิตประจำที่ (Fixed Station) และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ ทั่วประเทศ พร้อมรับเสื้อยืดสุดเท่ “BLOOD DONATION Give Blood Save Life” แทนคำขอบคุณ
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า เทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีไทย โดยพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ มีการเดินทางกลับภูมิลำเนา และร่วมกิจกรรมตามประเพณีกับครอบครัว ส่งผลให้การบริจาคโลหิตลดน้อยลง แต่ความต้องการใช้โลหิตในการรักษาพยาบาลในช่วงเทศกาลสงกรานต์กลับสูงขึ้น และมากกว่าช่วงปกติถึงร้อยละ 40 เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนประจำปี 2566 พบว่า อุบัติเหตุสะสมที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่าง วันที่ 9 – 16 เมษายน 2566 จำนวน 2,203 ครั้ง บาดเจ็บ 2,208 ราย และเสียชีวิต 264 ราย ซึ่งเป็นที่มาของความต้องการโลหิตอย่างเร่งด่วนและจำนวนมาก โรงพยาบาลต่างๆ จึงต้องเตรียมแผนการสำรองโลหิต เพื่อให้สามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมบริจาคโลหิต ในโครงการ “แล้งนี้ไม่แล้งน้ำใจ ด้วยการให้โลหิต” ระหว่างวันที่ 9 – 16 เมษายน 2567 พิเศษ สำหรับผู้บริจาคโลหิตในโครงการฯ ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์ หน่วยรับบริจาคโลหิตประจำที่ (Fixed Station) ในกรุงเทพฯ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่ง ทั่วประเทศ จะได้รับเสื้อยืดสุดเท่ “BLOOD DONATION Give Blood Save Life” แทนคำขอบคุณ
นอกจากนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้จัดกิจกรรมให้ผู้บริจาคโลหิตได้ร่วมสนุก และเสริมสิริมงคล ให้แก่ตนเอง ดังนี้
- กิจกรรมสรงน้ำพระ เพื่อความเป็นสิริมงคล และสืบสานประเพณีไทยตลอดทั้ง 8 วัน ในช่วงระยะเวลาของโครงการฯ
- กิจกรรม Show & Share เชิญชวนผู้บริจาคโลหิตสวมเสื้อลายดอก โพสต์ข้อความผ่าน Social Media เชิญชวนคนไทยบริจาคโลหิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พร้อมติดแฮชแท็ก #ใส่ลายดอกให้โลหิต
บริจาคโลหิตในโครงการ ฯ ได้ที่ :
- ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์
- หน่วยรับบริจาคโลหิตประจำที่ (Fixed Station) 7 แห่ง ในกรุงเทพฯ ได้แก่ สถานีกาชาด 11 วิเศษนิยม (บางแค) เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ สาขาบางแค สาขาบางกะปิ สาขางามวงศ์วาน และสาขาท่าพระ ศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรียม และบ้านทรงไทย (ย่านวงศ์สว่าง)
- ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่ง ทั่วประเทศ ได้แก่ ลพบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช (ทุ่งสง) สงขลา และภูเก็ต
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
- ฝ่ายจัดหาผู้บริจาคโลหิตและสื่อสารองค์กร ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
- โทร. 0 2256 4300, 0 2263 9600-99 ต่อ 1760,1761
เดินสายล่องใต้ ส่งต่อพลังเลือดใหม่ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กับโครงการ BRAND’S Young Blood 2024
Written by colorpack on . Posted in Photo gallery of activities. No Comments on เดินสายล่องใต้ ส่งต่อพลังเลือดใหม่ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กับโครงการ BRAND’S Young Blood 2024
เดินสายล่องใต้ ส่งต่อพลังเลือดใหม่ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กับโครงการ BRAND’S Young Blood 2024
นางสาวปิยนันท์ คุ้มครอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการจัดหาโลหิตและภาพลักษณ์องค์กร ร่วมพิธีเปิดกิจกรรมรับบริจาคโลหิตในสถาบันการศึกษา ภายใต้โครงการ “แบรนด์…พลังเลือดใหม่ ต่อพลังชีวิต 2567” (BRAND’S Young Blood 2024) จัดขึ้นโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เพื่อชวนให้นักศึกษาออกมาแสดงพลังของคนรุ่นใหม่ ที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคมด้วยการบริจาคโลหิตสำรองคงคลังให้กับผู้ป่วย พร้อมสร้างสังคมใหม่ที่ไม่ขาดแคลนโลหิต โดยมี ผศ.ศุภรัตน์ พิณสุวรรณ รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิด รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา นางมธุวลี สถิตยุทธการ ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมในพิธีเปิด โอกาสนี้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการจัดหาโลหิตและภาพลักษณ์องค์กร ได้เยี่ยมชมและให้กำลังใจแก่ นิสิต นักศึกษา ที่มาร่วมบริจาคโลหิต ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารศูนย์รวมกิจการนักศึกษา
แกลอรี่ข่าว
ชมรมผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ
Written by colorpack on . Posted in Rh-Negative blood information. No Comments on ชมรมผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ
- ความรู้เกี่ยวกับโลหิตหมู่พิเศษ
- ความสำคัญของโลหิตหมู่พิเศษ
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- ชมรมผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ
ชมรมผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ
การจัดหา โลหิตหมู่พิเศษ (Rh negative) ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของงานบริการโลหิตในประเทศไทย เมื่อมีผู้ป่วยต้องการโลหิตหมู่พิเศษในการรักษาอย่างเร่งด่วน แต่ในคนไทยพบผู้ที่มีโลหิตหมู่พิเศษอยู่เพียงร้อยละ 0.3 จากจำนวนประชากรทั้งหมด หรือคิดง่ายๆ ใน 1,000 คน จะพบเพียง 3 คน เท่านั้น ที่มีโลหิตหมู่พิเศษ
สถิติจำนวนผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ มีเพียง 6,388 คน ทั่วประเทศ
Rh-
ALL
6,388 คน
กรุ๊ป
AB
467 คน
กรุ๊ป
A
1,513 คน
กรุ๊ป
B
1,913 คน
กรุ๊ป
O
2,495 คน
จึงมักประสบกับปัญหาโลหิตหมู่พิเศษไม่เพียงพอ และไม่ทันต่อความต้องการของผู้ป่วย เนื่องจากในการรับโลหิตจำเป็นต้องรับโลหิตหมู่พิเศษด้วยกันเท่านั้น
ความต้องการโลหิตหมู่พิเศษของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ประจำวันที่ 5 พ.ค. 2567
110
ยูนิต
7
ยูนิต
175
ยูนิต
4
ยูนิต
ดังนั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จึงได้มีการจัดตั้ง ชมรมผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ (Rh negative Club) ขึ้น เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2532 และได้ริเริ่มการจัดงาน “รวมพล (ครอบครัว)หมู่โลหิตพิเศษ Rh- Negative” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ ได้มีโอกาสรวมตัว พบปะ ทำความรู้จักและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน สร้างความสัมพันธ์อันดีในกลุ่มสมาชิก ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันในกลุ่มผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ อีกทั้ง ยังได้รับข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโลหิตหมู่พิเศษที่เป็นปัจจุบัน รวมถึงปลูกฝังแนวความคิดผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษให้มาบริจาคโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ บริจาคอย่างต่อเนื่องทุก 3 เดือน จะทำให้มีโลหิตสำรองเพียงพอต่อการใช้รักษาชีวิตผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที จึงขอเชิญชวนผู้บริจาคโลหิตหมู่โลหิตพิเศษ ร่วมบริจาคโลหิตเพื่อช่วยต่อลมหายใจให้ผู้ป่วยหมู่โลหิตพิเศษด้วยกัน
โดยสามารถเดินทางมาบริจาคโลหิต ได้ที่
-
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถ.อังรีดูนังต์
-
รถรับบริจาคโลหิตหมู่พิเศษ
ติดต่อนัดหมายการบริจาคโลหิตล่วงหน้า โทร. 0 2252 1637, 08 5149 9089 | งานจัดหาผู้บริจาคโลหิต ฝ่ายจัดหาผู้บริจาคโลหิตและสื่อสารองค์กร
ความรู้เกี่ยวกับโลหิตหมู่พิเศษ
เราจำแนกหมู่โลหิต (ฺBlood Type) ของมนุษย์ด้วย 2 ระบบ ประกอบด้วย
ABO SYSTEM เป็นการจำแนกตาม Antigen A และ Antigen B
ที่ปรากฏบนเม็ดเลือดแดง โดยทั่วไปจะพบ
– หมู่โลหิต A ประมาณ 24%
– หมู่โลหิต B ประมาณ 34%
– หมู่โลหิต O พบประมาณ 38% (มากที่สุด)
– หมู่โลหิต AB ประมาณ 8% (น้อยที่สุด)
Rh SYSTEM เป็นการจำแนกตาม Antigen D
ที่ปรากฏบนเม็ดเลือดแดง โดยแบ่งเป็น
– Rh-Positive คือกลุ่มที่ตรวจพบ Antigen D ในเม็ดเลือดแดง (พบได้โดยทั่วไป)
– Rh-Negative คือกลุ่มที่ไม่พบ Antigen D ในเม็ดเลือดแดง ซึ่งพบเพียงร้อยละ 15
ในกลุ่มคนผิวขาว และมีอัตราพบน้อยมากในไทย เพียง 3 ใน 1,000 คน เท่านั้น
จึงนับเป็น “หมู่โลหิตหายาก” หรือ “หมู่โลหิตพิเศษ”นั่นเอง
ความสำคัญของหมู่โลหิตพิเศษ
ในการรักษาพยาบาลที่ต้องมีการให้โลหิต ผู้ที่มีหมู่โลหิตพิเศษ Rh- จำเป็นต้องได้รับโลหิตหมู่โลหิต Rh- ในการรักษาเท่านั้น เพื่อป้องกันการกระตุ้นการสร้าง Antibody ขึ้นมาทำลาย Antigen D บนเม็ดเลือดแดง เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน ผู้ป่วยที่มีหมู่โลหิต Rh- สามารถรับโลหิตจากหมู่ Rh+ ได้ แต่เพียงครั้งเดียวเท่านั้นเพราะหากได้รับเป็นครั้งที่ 2 ภูมิต้านทานในร่างกายจะสร้าง Antibody ขึ้นมาทำลายเม็ดเลือดแดงที่มี Antigen D บนพื้นผิวซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้
ข้อควรระวัง ในมารดาที่มีหมู่โลหิต Rh-
กรณีที่แม่มีหมู่โลหิต Rh- และพ่อมีหมู่โลหิต Rh+ มีข้อควรระวัง ดังนี้
- ในครรภ์แรก เมื่อลูกมีหมู่โลหิต Rh+ เหมือนพ่อจะมี ความเสี่ยงสูงที่เม็ดเลือดแดงของลูกจะเข้าสู่กระแสโลหิต ของแม่ได้ในระหว่างการหลุดลอกของรก ซึ่งภูมิของแม่ ก็จะสร้าง Antibody D มาต้าน Antigen D บนเม็ดเลือด แดงของลูก ลูกคนแรกในครรภ์นี้จะปลอดภัย
- ในครรภ์ที่ 2 ถ้าลูกเป็น Rh- เหมือนแม่ ลูกจะปลอดภัย ถ้าลูกเป็น Rh+ เหมือนพ่อ จะเกิดสภาวะที่อันตราย เนื่องจากแม่สร้างภูมิ Atibody D มาแล้วในครรภ์แรก และภูมินี้จะไปทำลายเม็ดเลือดเลือดแดงของลูกคนที่ 2 ได้ *ลูกจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
“ดังนั้น ผู้หญิงที่มีหมู่เลือด Rh- ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนก่อนมีบุตรและเตรียมการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์”
การถ่ายทอดหมู่โลหิต ABO ของพ่อ-แม่-ลูก ที่เป็นไปได้
การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
โดยทั่วไปเมื่อพูดถึงหมู่โลหิต Rh แล้วจะหมายถึงเฉพาะยีนคู่แรก ซึ่ง D เป็นยีนที่ทำให้คนเรามีหมู่โลหิตเป็น Rh บวก หรือถ้าไม่มียีน D จะเป็น Rh ลบ คนที่มียีน DD หรือชนิด Dd จะเป็น Rh บวก กล่าวคือ มี D แอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง ส่วนคนที่มียีนชนิด dd จะเป็น Rh ลบ ซึ่งมาจาก 3 กรณี คือ
กรณีที่ 1 พ่อและแม่มีหมู่โลหิต Rh+ ทั้งคู่ แต่มียีนด้อยแฝงอยู่ (Dd) มีโอกาสที่ลูกจะมีโลหิตเป็น Rh- 25%
กรณีที่ 2 พ่อ หรือ แม่ คนใดคนหนึ่ง มีหมู่โลหิต Rh+ และมียีนด้อยแฝงอยู่ (Dd) และอีกฝ่ายหนึ่งมีหมู่โลหิต Rh- (dd) มีโอกาสที่ลูกจะมีโลหิตเป็น Rh- 50%
กรณีที่ 3 พ่อ และ แม่ ทั้งคู่มีหมู่โลหิต Rh- ซึ่งมียีนด้อย dd ทั้งสองคน มีโอกาสที่ลูกจะมีโลหิตเป็น Rh- 100%